คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๔. ใฝ่เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
๖. มุ่งมั่นในการทำงาน
๗. รักความเป็นไทย
๘. มีจิตสาธารณะ
นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเอง
สมรรถนะสำคัญ
ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
ข้อ 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้
ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัด
และลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง
ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
ข้อ 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด
อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือ
สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค ต่าง ๆ ที่
เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ
ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้นต่อ
ตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
ข้อ 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้
ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกัน
ในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ
อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จัก
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
ข้อ 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้าน
ต่าง ๆและมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
มาตรฐานการเรียนรู้
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้
๑. ภาษาไทย
๒. คณิตศาสตร์
๓. วิทยาศาสตร์
๔. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๕. สุขศึกษาและพลศึกษา
๖. ศิลปะ
๗. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
๘. ภาษาต่างประเทศ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม ที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึง
การทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน
๑. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓)
๒. ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ ๔- ๖)
หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อความเข้าใจและให้สื่อสารตรงกัน ดังนี้
ว ๑.๑ ป. ๑/๒
ป.๑/๒ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ข้อที่ ๒
๑.๑ สาระที่ ๑ มาตรฐานข้อที่ ๑
ว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ต ๒.๒ ม.๔-๖/ ๓
ม.๔-๖/๓ ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อที่ ๓
๒.๓ สาระที่ ๒ มาตรฐานข้อที่ ๒
ต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ว 21102
คำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเมืองเชลียง
รหัสวิชา ว 21102 ชั้น ม. 1
1.5 หน่วยกิต เวลา 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ เวลา 60 ชั่วโมง
ศึกษา วิเคราะห์ ปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์ ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็ว และความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ อุณหภูมิและการวัดอุณหภูมิ การถ่ายโอนความร้อน การดูดกลืน การคายความร้อน โดยการแผ่รังสี สมดุลความร้อนและผลของความร้อนต่อการขยายตัวของสาร บรรยากาศองค์ประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลก ความสัมพันธ์ระหว่าง อุณหภูมิ ความชื้น และความกดอากาศ ที่มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่มีผลต่อมนุษย์ แปลความหมายข้อมูลจากการพยากรณ์อากาศ ปัจจัยทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก รูโหว่โอโซน ฝนกรด และผลของภาวะโลกร้อนที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบการสืบค้นข้อมูลและ การอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ
เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด
ว 4.1 ม.1/1- ว 4.1 ม.1/2 , ว 5.1 ม.1/1 ว 5.1 ม.1/4 , ว 6.1 ม.1/1 ว 6.1 ม.1/7 ,
ว 8.1 ม.1/1 ว 8.1 ม.1/9
รวม 21 ตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเมืองเชลียง
รหัสวิชา ว 21102 ชั้น ม. 1
1.5 หน่วยกิต เวลา 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ เวลา 60 ชั่วโมง
ศึกษา วิเคราะห์ ปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์ ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็ว และความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ อุณหภูมิและการวัดอุณหภูมิ การถ่ายโอนความร้อน การดูดกลืน การคายความร้อน โดยการแผ่รังสี สมดุลความร้อนและผลของความร้อนต่อการขยายตัวของสาร บรรยากาศองค์ประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลก ความสัมพันธ์ระหว่าง อุณหภูมิ ความชื้น และความกดอากาศ ที่มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่มีผลต่อมนุษย์ แปลความหมายข้อมูลจากการพยากรณ์อากาศ ปัจจัยทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก รูโหว่โอโซน ฝนกรด และผลของภาวะโลกร้อนที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบการสืบค้นข้อมูลและ การอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ
เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด
ว 4.1 ม.1/1- ว 4.1 ม.1/2 , ว 5.1 ม.1/1 ว 5.1 ม.1/4 , ว 6.1 ม.1/1 ว 6.1 ม.1/7 ,
ว 8.1 ม.1/1 ว 8.1 ม.1/9
รวม 21 ตัวชี้วัด
ว 21101
คำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเมืองเชลียง
รหัสวิชา ว 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
1.5 หน่วยกิต เวลา 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ เวลา 60 ชั่วโมง
ศึกษา วิเคราะห์ รูปร่าง ลักษณะของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ส่วนประกอบและหน้าที่ ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ กระบวนการสารผ่านเซลล์ โดยการแพร่และออสโมซิส ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ โครงสร้างที่เกี่ยวกับระบบลำเลียงน้ำและอาหารของพืช โครงสร้างของดอกที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืช กระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช โดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชเพื่อช่วยในการขยายพันธุ์ การตอบสนองของพืชต่อ แสง น้ำ และการสัมผัส ผลของการใช้เทคโนโลยี ชีวภาพในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ เพิ่มผลผลิตของพืชและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ศึกษา วิเคราะห์ จำแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้เนื้อสารหรือขนาดอนุภาคเป็นเกณฑ์และอธิบายสมบัติของสารในแต่ละกลุ่ม สมบัติและการเปลี่ยนสถานะของสาร โดยใช้แบบจำลองการจัดเรียงอนุภาคของสาร สมบัติความเป็นกรดเบสของสารละลาย ค่า pH ของสารละลายและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิธีเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นเป็นร้อยละ การนำความรู้เกี่ยวกับสารละลายไปใช้ประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงสมบัติ มวล และพลังงานของสาร เมื่อสารเปลี่ยนสถานะและเกิดการละลาย ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนสถานะ และการละลายของสาร
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบการสืบค้นข้อมูลและ การอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ
เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด
ว 1.1 ม.1/1 - ว 1.1 ม.1/13 , ว 3.1 ม.1/1 - ว 3.1 ม.1/4 , ว 3.2 ม.1/1 , ว 3.2 ม.1/3 ,
ว 8.1 ม.1/1 - ว 8.1 ม.1/9
รวม 21 ตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเมืองเชลียง
รหัสวิชา ว 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
1.5 หน่วยกิต เวลา 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ เวลา 60 ชั่วโมง
ศึกษา วิเคราะห์ รูปร่าง ลักษณะของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ส่วนประกอบและหน้าที่ ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ กระบวนการสารผ่านเซลล์ โดยการแพร่และออสโมซิส ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ โครงสร้างที่เกี่ยวกับระบบลำเลียงน้ำและอาหารของพืช โครงสร้างของดอกที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืช กระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช โดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชเพื่อช่วยในการขยายพันธุ์ การตอบสนองของพืชต่อ แสง น้ำ และการสัมผัส ผลของการใช้เทคโนโลยี ชีวภาพในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ เพิ่มผลผลิตของพืชและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ศึกษา วิเคราะห์ จำแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้เนื้อสารหรือขนาดอนุภาคเป็นเกณฑ์และอธิบายสมบัติของสารในแต่ละกลุ่ม สมบัติและการเปลี่ยนสถานะของสาร โดยใช้แบบจำลองการจัดเรียงอนุภาคของสาร สมบัติความเป็นกรดเบสของสารละลาย ค่า pH ของสารละลายและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิธีเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นเป็นร้อยละ การนำความรู้เกี่ยวกับสารละลายไปใช้ประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงสมบัติ มวล และพลังงานของสาร เมื่อสารเปลี่ยนสถานะและเกิดการละลาย ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนสถานะ และการละลายของสาร
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบการสืบค้นข้อมูลและ การอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ
เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด
ว 1.1 ม.1/1 - ว 1.1 ม.1/13 , ว 3.1 ม.1/1 - ว 3.1 ม.1/4 , ว 3.2 ม.1/1 , ว 3.2 ม.1/3 ,
ว 8.1 ม.1/1 - ว 8.1 ม.1/9
รวม 21 ตัวชี้วัด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาระที่ 1-2
-รูปร่าง ลักษณะและส่วนประกอบสําคัญของเซลล์ต่างๆของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลาย
-เซลล์ การใช่กล้องจุลทรรศน์
-ส่วนประกอบที่สําคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ (นิวเคลียส ไซโทพลาสซึม เยื่อหุ้มเซลล์
ผนังเซลล์ คลอโรพลาสต์)
-หน้าที่ของส่วนประกอบที่สําคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
-กระบวนการแพร่และออสโมซิส
-ปัจจัยที่จําเป็นต้องใช้ และผลที่ได้ จากการสังเคราะห์ด้วยแสง
-ความสําคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
-โครงสร่างและการทํางานของระบบลําเลียงน้ําและอาหารของพืช
-โครงสร่างภายนอกและภายในของดอกที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืช
-กระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
สาระที่ 3
-จําแนกสารโดยใช่เนื้อสารหรือขนาดอนุภาคเป็นเกณฑ์
-สารและการเปลี่ยนสถานะของสาร
-ความเป็นกรด - เบสของสารละลาย
-pH ของสารละลาย
-การเตรียมสารละลาย
-การเปลี่ยนแปลงสมบัติ มวล และพลังงานของสาร เมื่อสารเปลี่ยนสถานะ
-ปัจจัยที่มีผลต่อการละลายของสาร และการเปลี่ยนแปลงพลังงานเมื่อสารเกิดการละลาย
สาระที่ 4-5
-ระยะทาง การกระจัด ปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์ อัตราเร็ว และความเร็วในการเคลื่อนที่
ของวัตถุ
-การหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในระนาบเดียวกันที่กระทําต่อวัตถ
-แรงลัพธ์ที่กระทําต่อวัตถุที่หยุดนิ่งหรือวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวมีค่าเป็นศูนย์
-อุณหภูมิ และการวัดอุณหภูมิ
สาระที่ 6-7
- บรรยากาศของโลกประกอบด้วยส่วนผสมของแก๊สต่างๆ ที่อยู่รอบโลก สูงขึ้นไปจากพื้นผิวโลก
หลายกิโลเมตร
-บรรยากาศแบ่งเป็นชั้นตามอุณหภูมิ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความสูงจากพื้นดิน
-อุณหภูมิ ความชื้น และความดันอากาศ มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
-ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ได้แก่ การเกิดเมฆ ฝน พายุฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน ลมมรสุม
-การพยากรณ์อากาศอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับ อุณหภูมิ ความดันอากาศ ความชื้น ปริมาณเมฆ ปริมาณ
น้ําฝน และนํามาแปลความหมายเพื่อใช่ในการทํานายสภาพอากาศ
-สภาพลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงบนโลก ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา รูโหว่ของโอโซน ฝน
กรด ส่งผลต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
-ภูเขาไฟระเบิด การตัดไม้ทําลายป่า การปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่บรรยากาศ ล้วนมีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก
ที่มา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-รูปร่าง ลักษณะและส่วนประกอบสําคัญของเซลล์ต่างๆของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลาย
-เซลล์ การใช่กล้องจุลทรรศน์
-ส่วนประกอบที่สําคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ (นิวเคลียส ไซโทพลาสซึม เยื่อหุ้มเซลล์
ผนังเซลล์ คลอโรพลาสต์)
-หน้าที่ของส่วนประกอบที่สําคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
-กระบวนการแพร่และออสโมซิส
-ปัจจัยที่จําเป็นต้องใช้ และผลที่ได้ จากการสังเคราะห์ด้วยแสง
-ความสําคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
-โครงสร่างและการทํางานของระบบลําเลียงน้ําและอาหารของพืช
-โครงสร่างภายนอกและภายในของดอกที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืช
-กระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
สาระที่ 3
-จําแนกสารโดยใช่เนื้อสารหรือขนาดอนุภาคเป็นเกณฑ์
-สารและการเปลี่ยนสถานะของสาร
-ความเป็นกรด - เบสของสารละลาย
-pH ของสารละลาย
-การเตรียมสารละลาย
-การเปลี่ยนแปลงสมบัติ มวล และพลังงานของสาร เมื่อสารเปลี่ยนสถานะ
-ปัจจัยที่มีผลต่อการละลายของสาร และการเปลี่ยนแปลงพลังงานเมื่อสารเกิดการละลาย
สาระที่ 4-5
-ระยะทาง การกระจัด ปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์ อัตราเร็ว และความเร็วในการเคลื่อนที่
ของวัตถุ
-การหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในระนาบเดียวกันที่กระทําต่อวัตถ
-แรงลัพธ์ที่กระทําต่อวัตถุที่หยุดนิ่งหรือวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวมีค่าเป็นศูนย์
-อุณหภูมิ และการวัดอุณหภูมิ
สาระที่ 6-7
- บรรยากาศของโลกประกอบด้วยส่วนผสมของแก๊สต่างๆ ที่อยู่รอบโลก สูงขึ้นไปจากพื้นผิวโลก
หลายกิโลเมตร
-บรรยากาศแบ่งเป็นชั้นตามอุณหภูมิ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความสูงจากพื้นดิน
-อุณหภูมิ ความชื้น และความดันอากาศ มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
-ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ได้แก่ การเกิดเมฆ ฝน พายุฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน ลมมรสุม
-การพยากรณ์อากาศอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับ อุณหภูมิ ความดันอากาศ ความชื้น ปริมาณเมฆ ปริมาณ
น้ําฝน และนํามาแปลความหมายเพื่อใช่ในการทํานายสภาพอากาศ
-สภาพลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงบนโลก ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา รูโหว่ของโอโซน ฝน
กรด ส่งผลต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
-ภูเขาไฟระเบิด การตัดไม้ทําลายป่า การปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่บรรยากาศ ล้วนมีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก
ที่มา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)