AEC กับ การเรียนสู่การเปลี่ยนแปลง


แผนการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
----------------------------------
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2555 – 2558 โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง มุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมทั้งในเมืองและชนบทบนพื้นฐานที่ว่าประชาชนที่เข้มแข็งและมีความรู้คือทุนที่มีพลังในการต่อสู้กับความยากจน โดยจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเด็ก เยาวชน ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสทุกคนให้เท่าเทียมกันทั้งในเมืองและชนบท ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเทียบเท่า พัฒนาความเป็นพลเมืองโลกที่ทันสมัย มีทักษะหลากหลาย มีความสามารถ      ในการแข่งขันสู่ตลาดโลกโดยบูรณาการการจัดการศึกษาภายใต้ 8 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ อันได้แก่
                       1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับทุกประเภท
                       2. การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค
                       3. การปฏิรูปครู เพื่อยกฐานะครูและวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง
                       4. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และการฝึกอาชีพให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
                       5. การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้การศึกษาทัดเทียมกับนานาชาติ
                       6. การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และบริการทางวิชาการ เพื่อสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาประเทศ
                       7. การเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน
                       8. การพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ

ดังนั้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา จึงยึดแนวคิดพื้นฐาน 3 ประการ เพื่อนำหลักการสู่การปฏิบัติ ดังนี้
1.          คำนึงถึงศักยภาพและบริบทรอบๆ ตัวผู้เรียน
2.          พัฒนาและยกระดับองค์ความรู้และกระบวนการเรียนการสอนให้ทัดเทียมอารยะประเทศด้วยการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสมัยใหม่
3.          มุ่งสู่เป้าหมายของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับศักยภาพ
ให้แข่งขันได้ในระดับสากล

               สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ จึงกำหนดกรอบแนวคิดว่า การศึกษาจะต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้น  ผลผลิตของการศึกษาจะต้องนำไปสู่การเตรียมประชาชน
คนไทยในอนาคต ที่มีความเป็นไทย มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพเพียงพอที่จะก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางและกระจายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่าง
เท่าเทียมทั้งในเมืองและชนบท
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงาน โครงการ/กิจกรรม  ที่สนองนโยบายรัฐบาลและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ     ปี พ.ศ. 2557 กล่าวคือ

20

  ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับทุกประเภท
  1. การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา 
2. จัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา      
3. การพัฒนาการศึกษาในเขตพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. การจัดการศึกษาปฐมวัย                             
5. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก
6. การประกันคุณภาพการศึกษาและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  
7. นวัตกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม     
8. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประชาธิปไตย ดนตรี นาฏศิลป์ไทย กีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้าน
9. การพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์    
10. ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน                          
11. โรงเรียนในฝันสู่มาตรฐาน                                      
10. พัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา                                    
11. ส่งเสริมเพื่อให้นักเรียนระดับตำบลมีงานทำ                    
12. พัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก      

                 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค       
1. การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน    
2. ส่งเสริมการจัดการศึกษาทางเลือกเน้นเด็กตกหล่น ออกกลางคันและจบ ม.6 ที่ไม่เรียนต่อและ                  นักเรียนพักนอนในพื้นที่ยากลำบาก 
3. การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายทางสังคม     
4. การจัดการศึกษาเพื่อนักเรียนพิการโดยโรงเรียนศึกษาพิเศษ   
5. การจัดการศึกษาสำหับเด็กด้อยโอกาสโดยโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 

                   ยุทธศาสตร์ที่ 3  การปฏิรูปครู เพื่อยกฐานะครูและวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง
1.   พัฒนาครูทั้งระบบเต็มตามศักยภาพ
2.   การสนับสนุนบุคลากรให้สถานศึกษา (คืนครูให้นักเรียน)
3.   ครูคลังสมอง

                   ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน
1.      จัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
2.      ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
3.      ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศที่สอง
4.      สร้างความตระหนักรู้การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้กับสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

21



ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ
1.      การบริหารจัดการในเขตพื้นที่การศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน (Area-base)
2.      พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินงาน (Output)  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดจุดมุ่งหมาย 4 ประการ ดังนี้
1. การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล 
     1.1 ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 3         เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านเทคโนโลยี  และด้านภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
     1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และนักเรียน           ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ทุกคน อ่านคล่อง เขียนคล่อง และคิดคำนวณที่ซับซ้อนขึ้น
     1.3 นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     1.4 สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งและผ่านการรับรอง
จากการประเมินคุณภาพภายนอก 
2การลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา 
                        2.1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบท ได้แก่ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  โรงเรียนดีประจำอำเภอ  โรงเรียนดีศรีตำบลและโรงเรียนขนาดเล็ก
                        2.2 นักเรียนและสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้  ได้รับ
การพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
2.3   นักเรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการ นักเรียนในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์และนักเรียนพิการในโรงเรียนเรียนร่วม ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
3ผู้บริหารโรงเรียนและครูมีศักยภาพอย่างสูงด้านการจัดการเรียนรู้
                   โดยมุ่งเน้นพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและครูให้ยึดมั่นในจรรยาบรรณ  มีศักยภาพสูงด้านการจัดการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จ โดยเน้นการจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียน รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากร จากองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาครูและผู้บริหารตามความต้องการจำเป็นในระหว่างวันหยุดหรือปิดภาคเรียน
4.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเข้มแข็ง
                        4.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการนิเทศ ติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียนและช่วยเหลือแก้ไขการดำเนินงาน หากโรงเรียนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมาย
     4.2 สถานศึกษาบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมตามหลัก ธรรมาภิบาล เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ช่วยเหลือดูแลนักเรียน และพัฒนา ผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวม ร่วมกับสถานศึกษา
                   5.  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในส่วนกลาง ลดบทบาทและกระจายอำนาจการบริหารจัดการ  รวมทั้งบูรณาการการทำงาน


22


5.1  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บูรณาการการทำงานระหว่างสำนัก และส่งเสริม สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานในสังกัด โดยลดบทบาทการสั่งการ และเพิ่มบทบาทในการช่วยเหลือ สนับสนุน นิเทศ ติดตาม ประเมินผล
     5.2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บูรณาการการทำงานกับองค์กรภายนอกที่ร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อลดช่องว่างการทำงานระหว่างองค์กร
  โดยมีการกำหนดให้มี ผลผลิต/โครงการเพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดสรร            และแผนงาน ดังนี้

ยุทธศาสตร์การจัดสรรที่ 1: เร่งรัดการพัฒนาประเทศและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
แผนงานรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน      
โครงการที่ 1     โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 
1.    จัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน โดย
                         -  พัฒนาโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 225 เขต และพัฒนาแนวทางการนำ ASEAN Curriculum Sourcebook สู่การปฏิบัติ
                        -   พัฒนาโรงเรียน Education Hub ให้เข้มแข็งขึ้น
                   -   พัฒนาศูนย์เรียนรู้ภาษาอาเซียนสำหรับชุมชนร่วมกับกองทุนพัฒนาสตรีแห่งชาติ รวม 11 ศูนย์ โดย พัฒนาหลักสูตร ภาษาต่างประเทศที่ 2 จำนวน 7 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ, จีน, เวียดนาม, พม่า, ญี่ปุ่น, กัมพูชา และตากาล๊อก จัดอบรมให้บุคลากรกองทุนสตรีใน 7 ภาษา
     -   พัฒนาครูให้จัดการสอนในวิชาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ โดยให้สามารถออกเสียงได้ถูกต้อง
-  พัฒนาหลักสูตรกระทรวงศึกษาสู่หลักสูตรนานาชาติ
-  พัฒนาอบรมให้ความรู้โรงเรียนเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาระดับนานาชาติโดยความร่วมมือกับ WASC (Western Association of Schools and Colleges)                    
-  พัฒนาความรู้ความเข้าใจเชิงเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจอาเซียน ดำเนินการอบรมปฏิบัติการพัฒนาความรู้เศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจอาเซียนให้แก่ครูและผู้บริหาร ร.ร. ร่วมกับ ITD และ มธ. ครูและศึกษานิเทศก์
-  พัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และสื่อสาร (Literacy ) เพื่อพัฒนาพลเมืองไทยสู่พลเมืองอาเซียนที่มีคุณภาพ ได้ดำเนินการพัฒนากลยุทธ์ การอ่านแบบต่างๆ ( Reading Strategy ) และร่างแผนปฏิบัติการ เพื่อเตรียมทำแผนยุทธศาสตร์เสนอ สพฐ. รณรงค์เรื่องพัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และสื่อสาร
พัฒนาครูสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษ ได้ดำเนินการเริ่มประสานงานกับสถาบันในต่างประเทศเพื่อเตรียมการส่งครูสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไปศึกษาภาษาอังกฤษและฝึกประสบการณ์การสอนวิทย์และคณิตด้วยภาษาอังกฤษ
2.    ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดย
-      พัฒนาครูและสื่อพร้อมใช้และขยายโรงเรียนที่สอนตามรูปแบบ English Bilingual Education  จาก 15 โรง เป็น 437 โรง ทุกเขตพื้นที่การศึกษา
-       อบรมเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียน/ครู/ศึกษานิเทศก์เน้นทักษะ
การสื่อสารด้านภาษาอังกฤษ
23


-       จ้างครูเจ้าของภาษาเพื่อยกระดับในโรงเรียนเป้าหมาย 100 คน ตลอดจนนิเทศ  ติดตามอย่างเข้มข้น
                         -   ปรับปรุงพัฒนาสื่อ และตำราเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ผลิตตำราเรียน สื่อการสอน และแบบประเมินผลวิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ป.1- 6 และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาและจัดสรรชุดสื่อช่วยสอน Teacher’s Kit แก่โรงเรียนประถมศึกษา23,000 โรง และอบรมครูระดับประถมศึกษาที่ไม่จบวิชาเอกภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ให้สอนภาษาอังกฤษให้ได้ผลดีขึ้น
                         -   ส่งเสริม สนับสนุนเครือข่าย การดำเนินงานศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ERIC) 188 ศูนย์ และ ERIC Network 881 ศูนย์ รวมทั้งสิ้น 1,069 ศูนย์ อบรมครูภาษาอังกฤษด้านความรู้
เพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อบรมศูนย์ละ 80 คน และสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-       ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (โรงเรียนสองภาษา) ประเมินความพร้อมโรงเรียนที่ขออนุมัติดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ EP (English Program)/ MEP (Mini English Program) จัดกิจกรรมนักเรียนในโรงเรียน EP/MEP เพื่อสร้างความพร้อมในการใช้ภาษา ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนวิทย์-คณิต เป็นภาษาอังกฤษ เพิ่มเป็นจำนวน 271 โรง จากเดิม 226 โรง จัดกิจกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษแก่ครูไทยที่สอนวิทย์-คณิต เป็นภาษาอังกฤษ และฝึกอบรมยกระดับคุณภาพครูสาขาวิชาต่างๆให้มีความสามารถในการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียนและภาษาต่างประเทศที่สอง ในระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษาตอนต้น
225 เขต
-       พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ และจัดแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน /Speech /ละครสั้น /Multiskills ระดับเขต ระดับภาคและระดับประเทศ
-       จัดค่ายภาษาอังกฤษแบบเข้มสำหรับนักเรียน ป.6 , ม.6 และค่ายสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับครู/นักเรียน/บุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ
-        ทดสอบทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนและครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาด้วยแบบทดสอบมาตรฐานสากล
-        สร้างความเข้มแข็งแก่เขตพื้นที่และภูมิภาค ในการพัฒนาวิทยากรแกนนำของศูนย์ PEER ระดับประถมศึกษา และศูนย์ ERIC ระดับมัธยมศึกษา อบรมขยายผลครูสอนภาษาอังกฤษ 83,900 คน
อย่างต่อเนื่อง
-        ส่งเสริมการยกระดับทักษะภาษาอังกฤษของครู และศึกษานิเทศก์ 45,000 คน
ผ่านระบบ online ของมหาวิทยาลัย Cambridge
-       กระตุ้นการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของโรงเรียน English Program/Mini English Program  ด้วยกิจกรรมพัฒนาศักยภาพครูต่างชาติและครูไทยในโครงการ พัฒนาสื่อและแบบทดสอบ และจัดEP/MEP  Open House  ใน  4 ภูมิภาค
-       พัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบคละชั้นในระดับประถมศึกษา
-       พัฒนาสื่อและ Learning App. ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษ
-        พัฒนาความรู้และทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน/ครู/บุคลากรทางการศึกษา
ทั่วประเทศ

24


3.    ส่งเสริมภาษาต่างประเทศที่สอง  
-        สนับสนุนและขยายศูนย์เครือข่ายพัฒนาภาษาต่างประเทศที่สอง 150  ศูนย์ 
-        พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่สอง โดยการอบรมความรู้ทักษะภาษา และการสอนสำหรับครูที่จบไม่ตรงวุฒิ(จีน เกาหลี ญี่ปุ่น) ร่วมกับองค์กรเจ้าของภาษา และพัฒนาทักษะการสอนและความรู้ที่จำเป็นสำหรับครูอาสาสมัครเจ้าของภาษา 100 คน และพัฒนาทักษะการสอนและความรู้ที่จำเป็นสำหรับครูอาสาสมัครเจ้าของภาษา (จีน เกาหลี) 600 คน ,ผลิตครูสอนภาษาต่างประเทศที่สอง/ภาษาอาเซียนที่จบวิชาเอกภาษานั้นๆโดยตรง (เยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น เกาหลี และภาษาของประเทศอาเซียน) 140 คน,ยกระดับศักยภาพครูประจำการสอนภาษาจีน (ทุน ปริญญาโท) 20 ทุน
-        จัดหา/จัดซื้อ/จัดจ้างสื่อการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่สองแบบโต้ตอบ (ภาษาญี่ปุ่น เกาหลี) ให้กับโรงเรียนต้นแบบ 300 โรง และจัดการเรียนการสอนภาษารัสเซียและสเปน ในระดับมัธยมศึกษา ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาของประเทศอาเซียน
    -   พัฒนาซอฟแวร์ (Leaning App.) สอนภาษาอาเซียนบวกสาม ซึ่งใช้ได้บนคอมพิวเตอร์ PC และ Tablet รวมทั้งเว็บไซต์
    -  จัดเวทีวิชาการ สัมมนาความรู้ แสดงความสามารถ/สาธิตผลงานทั้งของครูและนักเรียน รวมทั้งแข่งขันทักษะ/ประกวดความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศที่สองในเชิงบูรณาการของนักเรียน
    -  โครงการเยาวชนแลกเปลี่ยน เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาต่างประเทศที่สองในผู้เรียน จำนวน 50 คน
    -  เจรจาความร่วมมือและแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างไทยและประเทศองค์กรเจ้าของภาษา
    -  แปลหนังสือและสื่อความรู้จากภูมิปัญญาสากล 4 เรื่อง
4.  สร้างความตระหนักรู้การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้กับสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
     -   สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในโรงเรียนของประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน
     -   พัฒนาหลักสูตรและสื่อ จัดทำแนวทางการปฏิบัติและจัดกิจกรรมโดยบูรณาการ         กับหลักสูตร
     - ประกวดแข่งขันโต้วาที/ประกวดนวัตกรรมสำหรับครู/ศึกษานิเทศก์/ผู้บริหารโรงเรียน
-   การศึกษาเชิงลึกจากโรงเรียนต้นแบบที่จัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนเช่น Spirit of ASEAN , ASEAN Focus , Education Hub
-   ผลิตสื่อวีดิทัศน์แนวปฏิบัติที่ดีด้านการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
-   พัฒนานวัตกรรมการสร้างผู้นำนักเรียนแห่งอาเซียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยว      กับประชาคมอาเซียน โรงเรียน 2,000 โรง
     -   จัดค่ายนานาชาติอาเซียน
-   ฝึกอบรมปฏิบัติการนานาชาติสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับนักเรียนไทยและนักเรียนอาเซียน
                         -   วิจัยการพัฒนา ASEAN Curriculum Sourcebook สู่การปฏิบัติ


25


แผนงาน   แก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
โครงการที่ 2     โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

ในการดูแลสถานศึกษา 1,305 แห่ง โดยการรักษาความปลอดภัยครูและสถานศึกษา พัฒนาเครือข่ายวิทยุสื่อสาร พัฒนาหมู่บ้านครูแบบยั่งยืน 30 แห่ง พัฒนาสภาพแวดล้อม ก่อสร้างรั้ว และถนนภายในบริเวณโรงเรียน 100 แห่ง
เสริมสร้างความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน งานชุมนุมลูกเสือชายแดนภาคใต้ มหกรรมวิชาการชายแดนใต้ การแข่งขันกีฬานักเรียนชายแดนใต้ 
พัฒนากระบวนการเรียนการสอนในทุกด้าน ได้แก่ พัฒนาการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนของรัฐ 264 โรง พัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ 5 โรง พัฒนาคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาระดับอำเภอ 90 โรง การวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาสื่อและเทคโนโลยี พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย พัฒนาการเรียนรู้ระบบสองภาษา (ไทย-มลายู) 236 ห้องเรียน จัดการเรียน   การสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐ โดยจ้างวิทยากรผู้สอนศาสนาอิสลาม 1,340 คน สนับสนุนโรงเรียนคู่ขนานศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) 250 โรง 500 ศูนย์ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนในพื้นที่ ได้แก่ จัดกิจกรรมรินน้ำใจสู่น้องชาวใต้ให้โอกาสนักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้เพิ่มเติมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิเพื่อเตรียมสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา 10,000 คน จัดกิจกรรมโรงเรียนอุปถัมภ์เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในต่างพื้นที่ 300 คน ให้ทุนการศึกษาภูมิทายาท 4,000 คน สร้างรายได้ระหว่างปิดภาคเรียนของนักเรียน 13 สพท. 2,200 คน
พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา โดยดำเนินการ ศูนย์ครูใต้ในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากร สนับสนุนเงินอุดหนุนทุนการศึกษา 40 คน ในด้านการพัฒนาคุณวุฒิทางการศึกษา ส่งเสริมศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยอบรมครูที่สอนไม่ตรงวุฒิ 500 คน ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงานต่างประเทศ 140 คน

ยุทธศาสตร์การจัดสรรที่ 4  : การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณธรรมชีวิตและความเท่าเทียมกันในสังคม

แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษา 
ผลผลิตที่ 1 ผู้จบการศึกษาก่อนประถมศึกษา         
เพื่อจัดการศึกษาก่อนประถมศึกษาสำหรับนักเรียนในช่วงอายุ 4-5 ขวบ พัฒนานักเรียนระดับปฐมวัย       965,049 คน ให้มีความพร้อม โดยพัฒนาโรงเรียนปฐมวัยต้นแบบ จำนวน 1,876 โรง ขยายโครงการ             บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย จำนวน 3,660 โรง พัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง 50,000 ครอบครัว พัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การจัดการศึกษาก่อนประถมศึกษา





26


ผลผลิตที่ 2  ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ    
                   เพื่อจัดการศึกษาภาคบังคับให้แก่ประชากรวัยเรียน ในระดับการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 5,360,822 คน เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 3,355,647 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2,005,175 คน จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรวัยเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เข้ารับการศึกษาอย่างเสมอภาค และทั่วถึงเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กตกหล่นติดตามนักเรียนที่ออกกลางคันให้ได้เข้าเรียนเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้เด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับเรียนต่อเนื่องจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพสามารถให้คำแนะนำ คำปรึกษาและช่วยเหลือเด็กได้อย่างแท้จริง  ในการดำเนินการตามกิจกรรม ดังนี้
1.       การจัดการศึกษาประถมศึกษาสำหรับโรงเรียนปกติ
2.       การจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นสำหรับโรงเรียนปกติ
3.       ส่งเสริมการจัดการศึกษา เน้นเด็กตกหล่น ออกกลางคันและจบ ม.6 ไม่ได้เรียนต่อและนักเรียนพักนอนในพื้นที่ยากลำบาก
4.       การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายทางสังคม
5.       การก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและสิ่งก่อสร้างประกอบสำหรับโรงเรียนปกติ

ผลผลิตที่ 3 ผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย 
เพื่อจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,144,344 คน และการดำเนินการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 42 แห่งและเครือข่ายการนิเทศการมัธยมศึกษา 19 เครือข่าย โดยมีแผนการดำเนินการ ดังนี้
1.       การจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับโรงเรียนปกติ
2.       การส่งเสริมศักยภาพในการเรียนระดับมัธยมศึกษา


ผลผลิตที่ 4  เด็กพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาสมรรถภาพ     
               เพื่อจัดการศึกษาและพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการ  สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาคสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล  มีโรงเรียนเฉพาะความพิการ จำนวน 43 โรง ใน  35  จังหวัด  มีนักเรียนพิการ จำนวน  15,438 คน  ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา จำนวน 13 แห่ง และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด จำนวน 64 แห่ง   เด็กพิการที่เข้ารับการพัฒนาสมรรถภาพในศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน  6,680 คน  เด็กพิการที่เข้ารับการพัฒนาสมรรถภาพในศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน  34,000 คน  มีแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2557 ดังนี้
1. สนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ  ให้มีทักษะอาชีพโดยฝึกอาชีพ โรงเรียนเฉพาะความพิการ และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์  94  โรง  ให้เด็กพิการและด้อยโอกาส  จำนวน 17,732 คน  โดยความร่วมมือในการปรับปรุงหลักสูตร ให้เหมาะสมจาก ท้องถิ่น วิทยาลัย สถานประกอบการ
2.  สนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับเด็กออทิสติกและเด็กพิการในมูลนิธิคุณพุ่ม จำนวน  5,000 ทุน  
3. สนับสนุนสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา จำนวน 100,000 คน
                     4. เด็กพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติทั่วไป จำนวน  252,182 คน  ใน 17,923 โรง
                    5. โรงเรียนต้นแบบการเรียนร่วม จำนวน 5,026 โรง
27


          6. ส่งเสริมและสนับสนุนจัดตั้งศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ  878 ศูนย์  โดยมีการดำเนินงานดังนี้                                                                                                       1. โครงการทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กออทิสติกและเด็กพิการในมูลนิธิคุณพุ่ม
          2. สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาคสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล
          3. การพัฒนาวิชาชีพเพื่อการมีงานทำสำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส                      4. การจัดการศึกษาเพื่อนักเรียนพิการโดยโรงเรียนศึกษาพิเศษ
          5. การพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการโดยศูนย์การศึกษาพิเศษ
          6. การก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและสิ่งก่อสร้างประกอบสำหรับเด็กพิการ
ผลผลิตที่ 5 เด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  
เพื่อจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาส  สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงเหมาะสมตามบริบทและอัตลักษณ์ของตน  มีโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 26  โรง และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 โรง นักเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 44,085 คน  มีแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2557 ดังนี้
1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์/ราชประชานุเคราะห์
2.  ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กด้อยโอกาสในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
3. พัฒนาครูและนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
โดยมีการดำเนินงานดังนี้                                                                                                  (1) การสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
เหมาะสมตามบริบทและอัตลักษณ์ของตน                                                                                (2) โครงการจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์                                                 (3) การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสโดยโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์                               (4) การก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและสิ่งก่อสร้างประกอบสำหรับโรงเรียน
ศึกษาสงเคราะห์
ผลผลิตที่ 6 เด็กผู้มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาศักยภาพ
   
        เพื่อจัดการศึกษาสำหรับเด็กผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โดยใช้รูปแบบของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ในโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย 12 แห่ง  โรงเรียนที่จัดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ 195 แห่ง และกิจกรรมค่าย 1 สอวน. โดยมีนักเรียน 15,750 คน เพื่อให้เป็นนักคิด นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ต่อไป  มีประมาณการนักเรียนในโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย 8,640 คน และนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ 5,850 คน และนักเรียน เข้าค่าย 1 สอวน.       1,260 คน และจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีและทัศนศิลป์ 1,000 คน  
28


โครงการที่ 1 โครงการคืนครูให้นักเรียน  
             คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9  มิถุนายน 2552 อนุมัติในหลักการโครงการคืนครูให้นักเรียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงานแทนครู ระยะเวลา 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2555) ดังนี้
1.    บุคลากรทางการศึกษาอื่น (อัตราจ้าง) จำนวน 14,532 อัตรา มาปฏิบัติงานอื่นซึ่งมิใช่ภารกิจหลักในการพัฒนาผู้เรียนแทนครูอัตราจ้างวุฒิปริญญาตรี
2.       อัตราจ้างมาปฏิบัติงานภารโรง จำนวน 8,745 อัตรา เพื่อลดงานความรับผิดชอบของครู
สำหรับอัตราพี่เลี้ยงเด็กพิการ  คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการให้คืนอัตราเพิ่มเติม รวม 15,860 อัตรา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554

กิจกรรม
งบประมาณ
ล้านบาท
เป็นค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ (ค่าจ้างบุคลากรปฏิบัติงานสายสนับสนุนการสอนแทนครู เพื่อลดภาระครู ให้ครูมีเวลาพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างเต็มที่)
5,592.2076

โครงการที่ 2  โครงการพัฒนาครูทั้งระบบเต็มตามศักยภาพ
                   เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนดี และกำหนดยุทธศาสตร์การผลิตครู ระหว่างหน่วยงานผู้ใช้กับสถาบันผู้ผลิต เพื่อให้การผลิตครูมีมาตรฐาน โดยพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา   ให้เป็นครูดี ครูเก่งมีคุณภาพ คุณธรรม  ในการดำเนินงาน เป้าหมาย 42,300 คน ประกอบด้วย
                   1. ผู้บริหารการศึกษา        225 คน
                   2. ผู้บริหารสถานศึกษา  31,116 คน
                   3. ครู                      8,659  คน
                   4. ศึกษานิเทศก์           2,300  คน
โดยดำเนินการดังนี้
-       พัฒนาคุณภาพครูด้วยระบบ E-training
-       ส่งเสริมพัฒนาครูที่มีสมรรถนะสูง (Master teacher) เพื่อเป็นผู้นำ/แกนนำการพัฒนา
-       พัฒนาครูตามสมรรถนะ
-       พัฒนาศึกษานิเทศก์แนวใหม่ 2,300 คน โดยการจัดทำหลักสูตรอบรมศึกษานิเทศก์
มืออาชีพ.ศึกษานิเทศก์แกนนำ และ
Master Supervisor   การวิจัยและพัฒนารูปแบบการนิเทศที่เอื้อต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา (2553 -2562)
-       พัฒนานโยบายการบริหารอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดทำแผนอัตรากำลังครูในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. เพื่อจัดครูให้พอเพียงกับสถานศึกษา ฝึกอบรมครูผู้ช่วยสู่การเป็นครูมืออาชีพในประชาคมอาเซียน อบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 38 ค (2) ในเขตพื้นที่การศึกษา



29



โครงการที่ 3     โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
                   
                   เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ยกระดับคุณภาพทางการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบให้ทันสมัย โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษา พร้อมทั้งการเตรียมการเพื่อรองรับการศึกษาที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และยกระดับความสามารถนักเรียนในการเรียนรู้ สามารถคิดวิเคราะห์สู่ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ     การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งแวดล้อมให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีระเบียบวินัย เป็นพลเมือง   ที่ดีของประเทศ และส่งเสริมให้มีครูคลังสมองในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการดังนี้
                   1. พัฒนาการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ : โดยจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษา
- โปรแกรมการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 500 โรง
-  จัดหาโทรทัศน์สี ขนาด 46 นิ้ว พร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบ IP TV 19,200 ชุด ให้กับโรงเรียนตามโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Virtual Classroom)
-  พัฒนาบุคลากรด้าน ICT (People ware) เพื่อเป็นวิทยากรหลักในการพัฒนาครูประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน (จำนวนวิทยากร 675 คน) พัฒนาบุคลากรครูในสถานศึกษา ตลอดจนผู้บริหารและบุคลากร ด้านการศึกษาให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาได้ อบรมการใช้โปรแกรมบริหารงานสำนักงาน (e-Office) ตลอดจนการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของสถานศึกษา จำนวน 96,468 คน
-  พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ พัฒนาระบบบริหารจัดการคลังข้อมูลองค์ความรู้ (OBEC Library) จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (OBEC Distanst Learning Center) หลักสูตร   การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Courseware) ตามหลักสูตรแกนกลาง การพัฒนาโปแกรม (Programing) บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  ทั้งสำนักงานส่วนกลาง สพท. และสถานศึกษา
2. ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเน้นการจัดทำหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและมาตรฐานสากล รวมทั้งรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  285.5397 ล้านบาท  
  - จัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และจัดการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
                       - พัฒนาตำราเรียนเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียน ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยเน้นความเข้าใจโดยไม่ใช่วิธีการท่องจำ สำหรับนักเรียนในสังกัด สพฐ. ทุกคน
                       - พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา





30

                     - ยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านศักยภาพการเรียนรู้เชิงกระบวนการ โดยปรับเปลี่ยนจากการเน้นเนื้อหาเป็นการเน้นกระบวนการเพื่อการแสวงหาความรู้ และพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้ได้     ในการดำเนินชีวิตประจำวันมุ่งเน้นการบูรณาการกระบวนการที่สำคัญต่างๆ อาทิ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการคิด กระบวนการวิจัย และกระบวนการจัดการ 
เป็นต้น ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่มุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียน สำหรับการเตรียมผู้เรียนเข้าสู่โลกอนาคตในศตวรรษที่ 21 และทัดเทียมกับนานาประเทศ
3. ครูคลังสมอง  
- ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนการสอนในโรงเรียน 7,000 คน /75 ชั่วโมง /200 บาท
- จัดจ้างครูอัตราจ้างสาขาขาดแคลน  สาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 3,972 อัตรา สำหรับโรงเรียนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาตร์ คณิตศาสตร์ 1,700 โรง

โครงการที่ 4     โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐาน  
เพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพรองรับการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพทั้งด้านวิชาการและด้านการประกอบอาชีพ โดยดำเนินการ
1. โรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล                                                                 -  ยกระดับคุณภาพการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระ โดยเน้นทักษะอาชีพ, ICT สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมและการนิเทศ โดย Roving Teams ผลิตสื่อและการสนับสนุนในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในฝันจัด Lab school Symposium 2014 เพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับ ประเทศและมอบนโยบายประจำปี ใน 5 ภาคภูมิศาสตร์ จำนวน  2367 โรง  225 เขตพื้นที่การศึกษา และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนโดยใช้โรงเรียนในฝันที่เป็นศูนย์แม่ข่ายจังหวัด พัฒนาครูในฝันนำร่องเพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างยั่งยืนด้าน TQA, ASEAN, Child Rights และการประกวดนวัตกรรมการแข่งขันในเวทีระดับชาติ และเวทีโลก
2. พัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา  พัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 732 โรงเรียน พัฒนาประสิทธิภาพการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้  จัดสังคม online บน Website พัฒนาหลักสูตร สังเคราะห์ ถอดประสบการณ์การพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากลและโรงเรียนดีเด่น ระดับนานาชาติ พัฒนาข้อสอบเพื่อประกันองค์ความรู้ตามมาตรฐานรายวิชา
-    พัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับชาติ National Symposium และสร้างโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนา 500 โรงเรียน ในปี 2555 และขยายเพิ่มอีก 1,000 โรง ในปี 2556 รวมทั้งสิ้น 1,500 โรง
-          ติดตามการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สพม.42 เขต และเครือข่ายนิเทศ      19 เครือข่าย
-   พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการสร้างสังคมฐานความรู้สู่พลเมืองยุคใหม่


31


3. พัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก 
   - พัฒนาโรงเรียนหลักของการมาเรียน โดยการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้และจัดหาครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการ จำนวน 1,182 โรงเรียน (ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง : ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ สิ่งก่อสร้างอื่นที่ชำรุดทรุดโทรม และสภาพแวดให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ในโรงเรียนหลักของการมาเรียนรวม  และค่าครุภัณฑ์ห้องสมุด ครุภัณฑ์ปฏิบัติการ/วิชาการ
   - พัฒนาการเรียนการสอนแบบคละชั้น โดยการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนคละชั้น จำนวน 1,000 โรงเรียน
   -  สนับสนุนค่าพาหนะรับส่งนักเรียน โรงเรียนควบรวม รวม และเลิก นักเรียน 80,000 คนๆละ 15 บาท จำนวน 200 วัน
    - การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก/การพัฒนาวิชาการ สพท./การนิเทศติดตามผล      การดำเนินงานโรงเรียนเป็นรายโรง/การรายงานผลการดำเนินงาน/การบริหารจัดการรถรับส่งนักเรียน/Mobile Unit จำนวน 50 คันๆละ 100,000 บาท
  - บริหารจัดการรถรับ-ส่งนักเรียน (ปิคอัพ) 243 คัน (ปี พ.ศ. 2553 )  
  - บริหารจัดการรถรับ-ส่งนักเรียน (รถตู้โดยสารขนาด 12 ที่นั่ง (ดีเซล) จัดซื้อจำนวน 300 คัน โดยในปี 2557 
- สนับสนุนเขตพื้นที่การศึกษาในการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับเขตพื้นที่                   และยกระดับผลสัมฤทธิ์ และเขตพื้นที่/โรงเรียนที่มีผลงานเชิงประจักษ์ จำนวน 182 แห่ง
                       4. ส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้นักเรียนระดับตำบลมีงานทำ โดยมีเป้าหมายในปี 2557 จำนวน 2,762 โรง
                       - ได้ฝึกอาชีพ โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียน 836 โรง ,ซ่อมแซมปรับปรุงระบบไฟฟ้าโรงเรียนให้เพียงพอและปลอดภัย ,จัดหาครุภัณฑ์วิชาการและอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ท้องถิ่น ชุมชน และดำเนินการร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยเทคนิค มหาวิทยาลัยในท้องถิ่น

โครงการที่ 5       โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา
                    
                     เพื่อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 558,077 คน สำหรับครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 50,000 คน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 637,751 คน สำหรับครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 45,000 คน รวมทั้งจัดหาโทรทัศน์สี       ขนาดจอภาพไม่ต่ำกว่า 46 นิ้ว เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน จัดอบรมพัฒนาศึกษานิเทศก์ และครู ให้สามารถ ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ (แท็บเล็ต) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอน    และจ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบ Digital Content 8 กลุ่มสาระ









32


แผนงาน : สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โครงการที่ 1  โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                
เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน   จำนวนนักเรียนได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนทั้งสิ้น 7,541,077 คน แยกเป็นนักเรียนระดับก่อนประถม จำนวน 964,454 คนนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 3,371,540 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2,028,565 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,162,111 คน ดังนี้

แผนงาน : ป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
โครงการที่ 1 โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
                เพื่อพัฒนา สพฐ.ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งระบบ ปลอดอบายมุข ร่วมป้องกันทุจริตปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนสังกัด สพฐ. มีความรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์               อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะและยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับการพัฒนาครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษาอย่างบูรณาการโดยให้ผู้เกี่ยวข้องมีบทบาทในกระบวนการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม โปร่งใส     เสมอภาคและเป็นธรรม รวมทั้งการปฏิบัติ การพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการป้องกันการทุจริตอย่างมีจรรยาบรรณ ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมุ่งดำเนินการ ดังนี้
1.       พัฒนาทุกหน่วยงานของสพฐ.ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีระบบและวิถีพอเพียง มีความสุจริต รับผิดชอบ ปลอดอบายมุข
2.       พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนสังกัด สพฐ.  มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริต (ค่ายเยาวชน “คนดีของแผ่นดิน”)
3.       พัฒนาครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษาแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องให้มีคุณภาพ   มีความพอเพียง สุจริต รับผิดชอบ ปลอดอบายมุข บนฐานการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
4.       ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมและต่อต้านการทุจริต อย่างเป็นระบบ และมีเครือข่ายระดับชาติและนานาชาติที่เข้มแข็งและก้าวหน้าอย่างมีพลวัตร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ครู นักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการสร้างเสริมความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค
   - จำนวนเขตพื้นที่การศึกษาที่ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนร้อยละ100
              - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้น ร้อยละ 5
2. ผู้เรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
   - จำนวนสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพ 1,305 โรงเรียน
              - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5
33



          3. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงตรงตามศักยภาพมีคุณภาพตามหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
   - จำนวนนักเรียนเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 7,541,077 คน
              - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากการประเมินระดับชาติเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)
และมีเนื้อหาที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามหลักสูตร
- จำนวนนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) 1,195,828 คน
               - นักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ได้รับการพัฒนาศักยภาพสูงขึ้น
ร้อยละ 100
5. นักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามสิทธิที่กำหนดไว้
              -จำนวนนักเรียนได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  7,541,077 คน
6. นักเรียนมีจิตสำนึกและค่านิยมซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม ร้อยละ 85

 ที่มา


5. ส่วนที่ 2 ทิศทางการพัฒนาการศึกษา - สำนักนโยบายและแผน - สพฐ.

www.plan.obec.go.th/../5แผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ2557.docx
1.1 ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 3 ... จำนวน 225 เขต และพัฒนาแนวทางการนำ ASEAN Curriculum Sourcebook สู่การปฏิบัติ .... จำนวน 34,000 คน มีแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2557 ดังนี้. 1. ... พัฒนาครูตามสมรรถนะ; พัฒนาศึกษานิเทศก์แนวใหม่ 2,300 คน โดยการจัดทำหลักสูตรอบรมศึกษานิเทศก์

ข้อมูลพื้นฐาน
1.              ข้อมูลทั่วไป
1.1      ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านดอนระเบียง  ตั้งอยู่หมู่ที่  417    ถนน ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย
ตำบลแม่สำ  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  รหัสไปรษณีย์  64130
โทรศัพท์ 05-5690061  โทรสาร.      e-mail  Donrabiang@chaiyo.com     website         -
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย   เขต 2
1.2      เปิดสอนตั้งแต่ระดับ  อนุบาล 1    ถึงระดับ   ประถมศึกษาปีที่  6
1.3      มีเขตพื้นที่บริการ   1    หมู่บ้าน  ได้แก่ หมู่ที่   4 บ้านดอนระเบียง และหมู่ที่  12
2.              ข้อมูลด้านการบริหาร
2.1      ชื่อสกุลผู้บริหาร  นายจำเริญ  สุวรรณประสิทธิ์   วุฒิการศึกษาสูงสุด  ปริญญาโท (กศ.ม.)
สาขา การบริหารการศึกษา  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนระเบียง จนถึงปัจจุบันที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่  27  ธันวาคม พ.ศ.2553   ถึงปัจจุบัน
เป็นเวลา  3   ปี   -  เดือน
2.2      ผู้ช่วยผู้บริหาร(ที่ได้รับแต่งตั้ง)     -   คน                                                              
      ชื่อ        -          วุฒิการศึกษาสูงสุด        -
ชื่อ....................วุฒิการศึกษาสูงสุด..........

ประวัติโดยย่อ

                โรงเรียนบ้านดอนระเบียง  เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่  29  มิถุนายน  พ.ศ. 2483  แต่เดิมนั้นเรียนอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดดอนระเบียง  ต่อมาได้ย้ายมาสร้างอาคารเรียนชั่วคราวในที่ดินสาธารณะ  ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน ต่อมาได้รับงบประมาณ  50,000 บาทจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย สร้างอาคารเรียนแบบ  001  เมื่อวันที่ 5 มกราคม  พ.ศ.  2511  ต่อมาอาคารเรียนหลังนั้นชำรุดทรุดโทรมมากจึงได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน  อาคารประกอบ  ในปีงบประมาณ  2531  โดยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  สปช. 105/29  จำนวน  1  หลัง  8  ห้องเรียน  อาคารอเนกประสงค์แบบ 202/26  จำนวน  1  หลัง  ถังน้ำฝน ฝ.33  จำนวน  1  ชุด  ถังน้ำฝน.33  พิเศษ  จำนวน  1  ชุด  ส้วมแบบ สปช. 601 / 26  จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง  บ่อเลี้ยงปลา  1 บ่อ และต่อมาในปี 2539  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.  101 / 29  จำนวน  1  หลัง 3 ห้องเรียน  โรงเรียนได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่  1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
                เมื่อวันที่ 30  กันยายน  พ.ศ. 2547   นายเกษตร  เกียรติคุณ  ผู้อำนวยการโรงเรียนได้เกษียณอายุราชการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย  เขต ๒  ได้มีคำสั่งแต่งตั้งนายถวัลย์  ขีดขั้น  ตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7  เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนระเบียง      เมื่อวันที่  11  มกราคม  พ.ศ.  2548  ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายสมาน  เสนากูล  ตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสารจิตร  มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนระเบียง
และต่อมานายสมาน  เสนากูล สอบแข่งขันได้จึงย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปางสา
                ต่อมาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2  ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้  นางสาวพิสมัย  เกิดผล  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยติ่ง   มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนระเบียง  ตั้งแต่วันที่  24  มิถุนายน  พ.ศ.  2548  จนกระทั่งวันที่  22  มิถุนายน  2549  จึงได้รับคำสั่งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนระเบียง     จนถึงวันที่  8   ตุลาคม พ.ศ.2553 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2  ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้นางสาวพิสมัย  เกิดผล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนระเบียง   ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหาดเสี้ยววิทยา  และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย  เขต ๒  ได้มีคำสั่งแต่งตั้งนายถวัลย์  ขีดขั้น  ตำแหน่งครู คศ.2  เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนระเบียง
              ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2553   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2  ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้  นายจำเริญ  สุวรรณประสิทธิ์   ตำแหน่งครู  คศ.3 โรงเรียนเมืองเชลียง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 38   (สุโขทัย-ตาก) ผู้สอบแข่งขันได้ให้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนระเบียง จนถึงปัจจุบัน
คำขวัญโรงเรียนบ้านดอนระเบียง
                                เรียนดี  ประพฤติดี  สุขภาพดี