งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ที่มาhttp://thai.tourismthailand.org/map/sukhothai-64-1.html
มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข
สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 1780-1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทยในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534
งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552
ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม
กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การแสดงแสง เสียง ขบวนแห่กระทง การประกวดกระทง พนมหมาก พนมดอกไม้ ประกวดนางนพมาศ ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัย การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
สอบถามรายละเอียด
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร. 0 5569 7527
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย โทรศัพท์ 0 5561 6228, 0 5561 6366 โทรสาร 0 5561 6230
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5561 1619
ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 5561 1199, 0 5561 3112
โรงพยาบาลสุโขทัย โทร. 0 5561 1702, 0 5561 1782
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 5561 3296
Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286
http://www.sukhothai.go.th
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย
http://www.tourismthailand.org/sukhothai
สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ. ศ. 1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทย ในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534
อาณาเขต
จังหวัดสุโขทัยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 427 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 6,596 ตารางกิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ที่มา http://www.loikrathong.net/th/hl_sukhothai.php
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5561 1619
ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 5561 1199, 0 5561 3112
โรงพยาบาลสุโขทัย โทร. 0 5561 1702, 0 5561 1782
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 5561 3296
"ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ"
เป็นประเพณีบูชาด้วยประทีปที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตามที่ปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกพ่อขุนราม คำแหงหลักที่ 1 มีข้อความกล่าวถึง การเผาเทียน เล่นไฟ ว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อกว่า 700 ปีก่อน ซึ่งได้คลี่คลายมาเป็นประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟในปัจจุบัน โดยมีการแสดงแสง-เสียง จำลองบรรยากาศงานเผาเทียน เล่นไฟสมัยสุโขทัย ให้ผู้คนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศได้ชื่นชม
งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552
ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม
กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การแสดงแสง เสียง ขบวนแห่กระทง การประกวดกระทง พนมหมาก พนมดอกไม้ ประกวดนางนพมาศ ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัย การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
สอบถามรายละเอียด
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร. 0 5569 7527
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286
- สถานที่จัดงาน: บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
- กิจกรรม: ตระการตากับขบวนแห่กระทงใหญ่ จากหน่วยงานต่าง ๆ อีกมากมาย ขบวนโคมชักโคมแขวน การแสดงพลุ ดอกไม้ไฟไทยโบราณ เช่น พลุ ตะไล ไฟพะเนียง ไฟกังหัน โคมลอย ฯลฯ ประกวศนางนพมาศ การแสดงแสง-เสียง “รุ่งอรุณแห่งความสุข” การแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีสุโขทัย ประกวดกระทงและร่วมลอยกระทง ร่วมพิธีอาบน้ำเพ็ญ ในคืนเดือนเพ็ญ ณ เมืองเก่ากรุงสุโขทัย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ :
ททท. สำนักงานสุโขทัย โทร ๐ ๕๕๖๑ ๑๑๙๖
เว็บไซต์ http://www.tat.or.th./north3
รับผิดชอบโดย ททท. สำนักงานสุโขทัย ร่วมกับจังหวัดสุโขทัยและกรมศิลปากร
ถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สำนักพระราชวัง
3 ตุลาคม พุทธศักราช 2552
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประชาชนทุกหมู่เหล่ามาร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นวันที่ 13 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อรับการถวายการรักษาพระอาการประชวร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา สำหรับช่วงเช้าได้มีบุคคล คณะบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาเป็นครอบครัวเพื่อมาร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว อาทิ ดช.เคอิโงะ ซาโต่ พร้อมด้วยนายคัทซึมิ ซาโต บิดาชาวญี่ซึ่งเพิ่งเดินทางมาเมืองไทย ได้เดินทางมาร่วมลงนาม
ดช.เคอิโงะ กล่าวว่า โตขึ้นอยากเป็นหมอ จะได้ถวายการรักษา “ ในหลวง ” ให้หายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว ด้านนายคัทซิมิ กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงพระอาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่นเดียวกับคนไทย เพราะเห็นคนไทยพูดถึงแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันนี้ก็ดีใจและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมลงนามถวายพระพรให้ในหลวง
ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20091003/31076/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99.html
วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา
วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "ปวารณา"[1] จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร[2]พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย[3]
นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง
พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนยังนิยมร่วมกันทอดกฐิน ในระยะเวลา 1 เดือนหลังออกพรรษา มีทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน อย่างไรก็ดี ในแต่ละท้องถิ่นยังมีประเพณีอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น การแข่งเรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นต้น
ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศล "ตักบาตรเทโว" ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
ในหมู่ชาวไทยและชาวลาวริมฝั่งแม่น้ำโขง เชื่อว่าในช่วงวันออกพรรษา จะเกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคขึ้นในเวลากลางคืน ที่จังหวัดหนองคายอีกด้วย
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
ร่วมกิจกรรม "ตักบาตรเทโว" (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาต ิและธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)